Monday 25 July 2016

สถานการณ์ของปัญหา


ผลงานการออกแบบ

   ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้น เป็นปัญหาใหญ่ที่มีมานาน แต่ประชาชนส่วนใหญ่อาจยังไม่รับทราบเนื่องจากคิดว่าเป็นปัญหาที่ไกลตัว และยังไม่เห็นถึงผลกระทบที่ชัดเจน อันเนื่องมาจากปัจจัยทางการตลาดที่ผู้ผลิตเลือกที่จะไม่บอกให้ผู้บริโภครับรู้เพราะอาจส่งผลต่อการตลาดได้ แต่ในด้านการจัดการต่อผลกระทบนั้นกลับรุนแรงมากกว่า ดังนั้นผลงานการออกแบบชุดนี้จึงเป็นหนึ่งแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้สังคมได้ฉุกคิดและตระหนักถึงปัยหาที่กำลังจะตามมาหากเรานั้นไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ผลงานการออกแบบสื่อนั้น แบ่งโจทย์การสื่อสารออกเป็น 3 เรื่องคือ
1. ด้านสิ่งแวดล้อม 2. ด้านอาหาร 3. ด้านสุขภาพ เพื่อให้เห็นผลกระทบที่ชัดเจนและใกล้ตัวมนุษย์มากที่สุด







Thursday 30 June 2016

อันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์

อันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ ถึงเวลาจัดการอย่างถูกต้อง

   ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างรวดเร็ว มีการประดิษฐ์อุปกรณ์ใช้สอยนานาชนิดออกสู่ตลาดของผู้บริโภคจนทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิดกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของผู้คนโดยเฉพาะในเมือง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบกับการแข่งขันทางการตลาดที่เข้มข้นได้ส่งผลให้ราคาของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ลดต่ำลงจนผู้คนทุกระดับสามารถซื้อหาเป็นเจ้าของได้ ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ โทรศัพท์มือถือซึ่งปัจจุบันนี้ ประชาชนทุกวัย ทุกระดับสามารถซื้อหาเป็นเจ้าของกันแทบทุกคน

แม้สังคมจะได้ประโยชน์จากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แต่น้อยคนนักที่จะนึกถึงช่วงเวลาที่เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานนั้นเสื่อมสภาพ หมดอายุการใช้งานหรือไม่เป็นที่ต้องการของผู้ใช้งานอีกต่อไปแล้ว ผู้บริโภคจะจัดการกับสิ่งเหล่านี้ให้ถูกต้องได้อย่างไร 
รายงานนี้ได้ประมวลและเรียบเรียงผลการศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหา “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ในแง่ปริมาณ ความเป็นอันตรายและงานวิจัยการปนเปื้อนโลหะหนักในดินที่พบในต่างประเทศและในประเทศไทย เพื่อเป็นข้อมูลให้กับประชาชนและผู้กำหนดนโยบายได้ตระหนักถึงประเด็นปัญหานี้และช่วยกันสนับสนุนมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในระยะยาว

รายงานนี้ได้จัดทำโดยเครือข่าย WEEE CAN DO ประกอบด้วย
· สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (แผนงาน สสส.)
· สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· กรมควบคุมมลพิษ
· สถาบันการศึกษาและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
· นักวิชาการอิสระ
โดยมีคณะทำงานหลัก ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.ดร.ปเนต มโนมัยวิบูลย์ สถาบันการศึกษาและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และนายภัทรพล ตุลารักษ์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและของเสีย เป็นผู้ติดตามประเด็นปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ และศึกษาร่างพ.ร.บ.การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ฯ

นอกจากรายงาน ทางคณะทำงานหลักได้นำเสนอในรูปแบบอินโฟกราฟฟิก “ขยะอิเล็กทรอนิกส์:จัดการอย่างไรให้ปลอดภัย” เพื่อสร้างความเข้าใจ การตระหนักรู้เรื่องนี้ในวงกว้าง รวมทั้งการช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องต่อไป(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยายทั้งสองภาพ)




Sunday 26 June 2016

ความหมาย

ความหมายของขยะอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา : http://www.hsm.chula.ac.th/research/paper/e-wate_management/e-wate_management1.pdf

กรมอนามัย สานักอนามัยสิ่งแวดล้อม ให้ความหมายของ “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่หมดอายุการใช้งานหรือไม่ต้องการใช้งานอีกต่อไป เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทาให้ผู้บริโภคเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บ่อยครั้งขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องมีการจัดการอย่างถูกหลักวิชาการต่อไป เนื่องจากชิ้นส่วนของอุปกรณ์เหล่านั้น มีความเป็นพิษและไม่สามารถย่อยสลายเองตามธรรมชาติได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร ปริ้นเตอร์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เป็นต้น
(คู่มือประชาชน “ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ของเสียที่มาพร้อมเทคโนโลยี”, 2558)

Thursday 23 June 2016

ปัญหาใหม่ยุคโลกพัฒนา

ชุดความรู้ เรื่อง “การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste)” 

โดย ดร. สุจิตรา วาสนาดำรงดี1 และ อ.ดร.ปเนต มโนมัยวิบูลย์2 มกราคม 2555

ตอนที่ 1 ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ปัญหาใหม่ของสังคมไทยยุคไฮเทค 

   ในโลกยุคปัจจุบัน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ พัดลม ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้น การแข่งขันอย่างเข้มข้นระหว่างผู้ผลิตสินค้ายี่ห้อต่างๆ ทำให้ราคาสินค้ามีแนวโน้มลดต่ำลง ส่งผลให้ปจั จุบันมีการใช้งาน ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ สัดส่วนครัวเรือนที่มีโทรทัศน์ได้เพิ่ม สูงขึ้นจากร้อยละ 17 ในปีพ.ศ. 2522 เป็นร้อยละ 96 ในปีพ.ศ. 25533 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียังทำให้ผลิตภัณฑ์ เหล่านี้สามารถทำงานได้ดีและมีฟงั ก์ชัน่ หลากหลายมากขึ้น สร้างความต้องการและตอบสนองรูปแบบการใช้งานใหม่ๆ ของผู้บริโภค โดยเราจะเห็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการวางตลาดของอุปกรณ์ “ไฮเทค” เช่น โทรศัพท์อัจฉริยะ (Smart Phone) หรือแท็บเลตรุ่นใหม่ ปรากฏตามสื่อแทบทุกวัน อย่างไรก็ดี น้อยคนนักที่จะตระหนักถึงอีกด้านหนึ่งของการ พัฒนานี้ นั้น คือ ปัญหาการจัดการผลิตภัณฑ์เก่าที่เราไม่ต้องการและซากของผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุการ ใช้งาน ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งานหรือที่เราไม่ต้องการแล้วนั้นสามารถเรียกรวมๆ กันว่า “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” (Electronic Waste หรือ E-waste) ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ใช้กันมากในแถบเอเชียแปซิฟิก ส่วนชื่ออย่าง เป็นทางการนั้น กรมควบคุมมลพิษเลือกที่จะใช้คำว่า “ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์” (Waste Electrical and Electronic Equipment หรือ WEEE) ตามคำศัพท์ทางกฎหมายของสหภาพยุโรป แม้ว่าคำศัพท์ทั้ง สอง จะมีความหมายทางเทคนิคแตกต่างกันเล็กน้อย แต่เพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจและการสื่อสาร สำหรับ บทความชุดนี้เราจะใช้ทั้งคำว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์และซากผลิตภัณฑ์ฯ ในลักษณะเดียวกัน หมายถึง เศษซาก เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดรวมถึงชิ้นส่วนและวัสดุหมดเปลือง อาทิเช่น แบตเตอรี่และตลับหมึก พิมพ์ ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานที่เจ้าของทิ้งหรือต้องการทิ้ง
   ขยะอิเล็กทรอนิกส์ถือว่าเป็นผลกระทบอย่างหนึ่งในยุคไฮเทคที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ซึ่งหากไม่มีการจัดการที่ดี พอก็จะนำไปสู่ปญั หาสิ่งแวดล้อมทั้ง ในด้านการหมดไปของทรัพยากรและในด้านการรั่ว ไหลของสารพิษที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ของกรมควบคุมมลพิษในปี พ.ศ. 2555 คาดว่าจะมีปริมาณซาก ผลิตภัณฑ์ฯ 7 ประเภท ได้แก่ โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ โทรศัพท์มือถือและกล้อง ดิจิตอล เกิดขึ้นเกือบ 10 ล้านเครื่อง/ชิ้น คิดเป็นน้ำหนักรวมกว่า 1 แสนตัน ซากหลอดฟลูออเรสเซนท์ชนิดต่างๆ ประมาณ 55 ล้านหลอด และถ่านไฟฉายซึ่งส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 เป็นถ่านอัลคาไลน์ใช้แล้วทิ้งอีกไม่ต่ำกว่า 7 ล้าน ก้อนต่อปี โดยปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปีตามแนวโน้มการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น